วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

จงยกตัวอย่าง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน


4. จงยกตัวอย่าง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน


การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม




การศึกษาทางไกลเป็นระบบการศึกษาที่ยึดหลักการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
               
             1. การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong education) เป็นปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนเมื่อไรก็ได้โดยคำนึงถึงความพร้อม ความถนัด ความต้องการและความสนใจ
                2. การให้โอกาเท่าเทียมกันในการศึกษา (Equal opportunity in education) เป็นทางเลือกและทางออกไปสู่อุดมคติในการแก้ปัญหาเรื่องความเสมอภาคในการศึกษา เป็นการกระจายและขยายโอกาสให้ผู้ที่ต้องละทิ้งการศึกษาก่อนจบหลักสูตร หรือผู้ที่ไม่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน
                3. ส่งเสริมการศึกษามวลชน (Mass education) เป็นการให้การศึกษาแก่มวลชนในระดับต่างๆ โดยการใช้สื่อมวลชนหรือสื่ออื่นๆ รวมกันในรูปของสื่อหลายแบบ รวมทั้งการใช้อุปรกณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ด้วย




 ขั้นการวางแผน (Plan)
               
                1. ด้านการทบทวนหลักสูตร ควรมีการกำเนินการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ต้องพิจารณาทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียนในหลักสูตรให้มีความสอดคล้องด้วยเพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการหลักสูตรของโรงเรียน
                2. ด้านการจัดการเรียนการสอน ควรมีการดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ประกอบด้วย
                                1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้
                                2. หัวข้อเรื่องที่สอน
                                3. มาตรฐานการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
                                4. ผลการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
                                5. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
                3. ด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงานพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพปัญหาเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
                ขั้นการดำเนินงาน (Do)
                
            โรงเรียนดำเนินการ จัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงที่จัดทำขึ้นสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ดังนี้
               
 ขั้นการตรวจสอบ ประเมินผล (Check)
                
                1. การติดตามตรวจสอบการผลการเรียนรู้ของครู
                2. การติดตามของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ทราบว่าครูได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการศึกษาแล้วได้ผลเป็นอย่างไร
              
  ขั้นกาปรับปรุงแก้ไข (Action)
                
             วิเคราะห์ผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม สู่การพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป ได้แก่ การรายงานประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยมีกรอบประเด็นสำคัญของการรายงาน คือ ครูใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างไร (ศึกษาหลักสูตรและคู่มือครู/จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง/จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม/ผลการจัดการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไป๗
                สื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลนี้แยกออกได้เป็น สื่อหลัก คือ สื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาได้ด้วยตนเองตลอดเวลาและทุกสถานที่ สื่อหลักส่วนมากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ตำรา เอกสารคำสอน หรือคู่มือเรียน โดยผู้เรียนสามารถใช้สื่อเล่านี้เป็นหลักในการเรียนวิชานั้นๆ และมีโอกาสพลาดจากการเรียนได้น้อยมาก เพราะผู้เรียนจะมีสื่อเหล่านี้อยู่กับตัวเอง
                สื่อเสริม คือ สื่อที่จะช่วยเก็บตก ต่อเติมความรู้ให้แก่ผู้เรียนให้มีความรู้กระจ่างสมบูรณ์ขึ้น สื่อประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของเทป สรุปบทเรียน วิทยุ เอกสารเสริม การสอนเสริม หรือการพบกลุ่มเป็นต้น
         ข้อดี ของการศึกษาทางไกล ดังกล่าวแล้วว่ามีการจัดการศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีข้อดีหรือมีประโยชน์ต่อการศึกษาต่างๆ ในแง่มุมดังนี้
                1. ผู้เรียนได้เรียนกับผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้นๆ
                2. สามารถบันทึกคำบรรยายหรือการสอนส่งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ไปยังผู้เรียนได้โดยสะดวก
                3. ผู้เรียนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาเหมือนปกติ และยังสามารถทำงานในสถานประกอบการของตนเองได้
                4. ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคน และพัฒนางานในวิชาชีพของบุคคลได้ โดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในระบบปกติ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น